วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อารยธรรมจีน


ประวัติความเป็นมาของอารยธรรมจีน
ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งถ่ายทอดไปทั้งการอพยพ การค้า และการยึดครอง
อารยธรรมจีนเกิดขึ้นครั้งแรกที่ลุ่มแม่น้ำฮวงโห คือที่ราบตอนปลายของแม่น้ำฮวงโหและแม่น้ำแยงซีเกียง อารยธรรมจีนเจริญโดยได้รับอิทธิพลจากภายนอกน้อยเพราะทิศตะวันออกติดมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันตกและทิศเหนือเป็นทุ่งหญ้า ทะเลทราย และเทือกเขา จีนถือว่าตนเป็นศูนย์กลางของโลก เป็นแหล่งกำเนิดความเจริญ แหล่งอารยธรรมยุคหินใหม่ ที่พบมีอายุประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสต์กาลที่ตำบล ยางเชา เรียกวัฒนธรรมยางเชา มณฑลเฮอหนาน และวัฒนธรรมลุงชาน ที่เมือง ลุงชาน มณฑลชานตุง พบ เครื่องมือ เครื่องใช้ทำด้วยหิน กระดูกสัตว์ เครื่องปั้นดินเผา กระดูกวัว กระดองเต่าเสี่ยงทาย
จีนเป็นชาติที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีอารยธรรมเก่าแก่จนได้ชื่อว่าเป็นอู่อารยธรรมของชาติตะวันตก (ชนชาติในทวีปเอเชีย) อาจแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของจีนได้ ดังนี้
1.  สมัยก่อนประวัติศาสตร์ 
 (1) ยุคหินเก่า จีนเป็นดินแดนที่มนุษย์อาศัยเป็นเวลานานที่สุดในทวีปเอเชีย หลักฐานที่พบคือ มนุษย์หยวนโหม่ว (yuanmou man) มีอายุประมาณ 1,700,000 ปี ล่วงมาแล้ว พบที่มณฑลยูนนาน ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และพบโครงกระดูกมนุษย์ปักกิ่ง
                 (2) ยุคหินกลาง มีอายุประมาณ 10,000 ปี - 6,000 ปีล่วงมาแล้วใช้ชีวิตกึ่งเร่ร่อน ไม่มีการตั้งหลักแหล่งถาวร มีการพบเครื่องถ้วยชาม หม้อ มีการล่าสัตว์ เก็บอาหาร เครื่องมือหินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือ หินสับ ขูด หัวธนู
                 (3) ยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 6,000 ปี - 4,000 ปีล่วงมาแล้วเริ่มตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชน รู้จักเพาะปลูกข้าวฟ่าง เลี้ยงสัตว์ ทอผ้า ปลูกบ้านมีหลังคา ในยุคหินใหม่นี้มีมนุษย์ทำเครื่องปั้นดินเผาที่สวยงามมากขึ้น และเขียนลายสี
                 (4) ยุคโลหะ มีอายุประมาณ 4,000 ปีล่วงมาแล้วหลักฐานที่เก่าสุดคือมีดทองแดง แล้วยังพบเครื่องสำริดเก่าที่สุด ซึ่งนำมาใช้ทำภาชนะต่าง ๆเช่น ที่บรรจุไวน์ กระถาง กระจกเงา มีขนาดใหญ่และสวยงาม มากโดยเฉพาะสมัยราชวงค์ชาง และ ราชวงค์โจว

2.  สมัยประวัติศาสตร์ แหล่งอารยธรรมของจีนถือกำเนิดในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโห ทั้งนี้จีนเข้าสู่ “สมัยประวัติศาสตร์” ในสมัยราชวงค์ชาง (Shang Dynasty) ระหว่าง 1,776-1,112 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เมื่อมีการใช้ตัวหนังสือรูปภาพ เขียนบนกระดูกสัตว์หรือกระดองเต่า
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของจีน แบ่งได้เป็น 4 ยุค ดังนี้
     (1) ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ (หรือสมัยคลาสสิก) เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงค์ชาง (Shang Dynasty) และสิ้นสุดในสมัยราชวงค์โจว (Chou Dynasty) ประมาณ 1,776 -221 ปีก่อนคริสต์ศักราช จีนมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านปรัชญา เช่น ลัทธิขงจื้อ (Confucianism) ลัทธิเต๋า (Taoism)
                 (2) ประวัติศาสตร์สมัยจักรวรรดิ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ๋น (Chin Dynasty) เมื่อประมาณ 221 ก่อนคริสต์ศักราช จนกระทั่งถึงตอนปลายของสมัยราชวงศ์ชิง หรือเช็ง (Ching Dynasty) ซึ่งเป็นราชวงค์สุดท้ายของจีน ในปี ค.ศ. 1912 เป็นช่วงเวลายาวนานกว่า 2,000 ปี เป็นยุคที่จีนผนวกดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลให้รวมอยู่ภายใต้จักรวรรดิเดียวกัน
                 (3) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ตอนปลายสมัยราชวงศ์เช็ง( Ching Dynasty ) เป็นต้นมาเป็นยุคที่จีนเผชิญหน้ากับภัยคุกคามจากลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก เกิดการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์เช็ง และสถาปนาระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐขึ้นแทนที่ เป็นยุคที่จีนตกต่ำบ้านเมืองระส่ำระสายจนเกิดการปฏิวัติเข้าสู่ระบอบสังคมนิยมในปี ค.ศ.1949ในที่สุด
                 (4) ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มตั้งแต่จีนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ ในปี ค.ศ.1949 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
อารยธรรมจีนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีแหล่งอารยธรรมที่สำคัญ 2 แหล่ง คือ

เครื่องปันดินเผาหยางเชา


เครื่องปั้นดินเผาหลงซาน


อักษรจีนจารึกบนกระดองเต่า


จารึกอักษรบนกระดองเต่า


จิ๋นซีฮ่องเต้


กำแพงเมืองจีน


ทหารจีนตุ๊กตาดินเผาภายในสุสานสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ มณฑลซีอาน
  • ลุ่มแม่น้ำฮวงโห พบความเจริญที่เรียกว่า วัฒนธรรมหยางเชา ( Yang Shao Culture ) พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผาเป็นลายเขียนสี มักเป็นลายเรขาคณิต พืช นก สัตว์ต่างๆ และพบใบหน้ามนุษย์ สีที่ใช้เป็นสีดำหรือสีม่วงเข้ม นอกจากนี้ยังมีการพิมพ์ลายหรือขูดสลักลายเป็นรูปลายจักสาน ลายเชือกทาบ
  • ลุ่มน้ำแยงซี ( Yangtze ) บริเวณมณฑลชานตุงพบ วัฒนธรรมหลงซาน ( Lung Shan Culture ) พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผามีเนื้อละเอียดสีดำขัดมันเงา คุณภาพดีเนื้อบางและแกร่ง เป็นภาชนะ 3 ขา- -
สมัยประวัติศาสตร์ของจีนแบ่งได้ 4 ยุค
  • ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชาง สิ้นสุดสมัยราชวงศ์โจว
  • ประวัติศาสตร์สมัยจักรวรรดิ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ๋น จนถึงปลายราชวงศ์ชิงหรือเช็ง
  • ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มปลายราชวงศ์เช็งจนถึงการปฏิวัติเข้าสู่ระบอบสังคมนิยม
ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มตั้งแต่จีนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์จนถึงปัจจุบัน

อารยธรรมจีนในสมัยราชวงศ์ต่างๆ มีดังนี้
  • ราชวงศ์ชาง เป็นราชวงศ์แรกของจีน
      • มีการปกครองแบบนครรัฐ
      • มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้เป็นครั้งแรก พบจารึกบนกระดองเต่า และกระดูกวัว เรื่องที่จารึกส่วนใหญ่เป็นการทำนายโชคชะตาจึงเรียกว่า กระดูกเสี่ยงทาย
      • มีความเชื่อเรื่องการบูชาบรรพบุรุษ
  • ราชวงศ์โจว
      • แนวความคิดด้านการปกครอง เชื่อเรื่องกษัตริย์เป็น โอรสแห่งสวรรค์ สวรรค์มอบอำนาจให้มาปกครองมนุษย์เรียกว่า อาณัตแห่งสวรรค์
      • เริ่มต้นยุคศักดินาของจีน
      • เกิดลัทธิขงจื๊อ ที่มีแนวทาง
        • เป็นแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม
        • เน้นความสัมพันธ์และการทำหน้าที่ของผู้คนในสังคม ระหว่างจักรพรรดิกับราษฎร บิดากับบุตร พี่ชายกับน้องชาย สามีกับภรรยา เพื่อนกับเพื่อน
        • เน้นความกตัญญู เคารพผู้อาวุโส ให้ความสำคัญกับครอบครัว
        • เน้นความสำคัญของการศึกษา
      • เกิดลัทธิเต๋า โดยเล่าจื๊อ ที่มีแนวทาง
        • เน้นการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ต้องมีระเบียบแบบแผนพิธีรีตองใดใด
        • เน้นปรับตัวเข้าหาธรรมชาติ
        • ลัทธินี้มีอิทธิพลต่อศิลปิน กวี และจิตรกรจีน
      • คำสอนทั้งสองลัทธิเป็นที่พึ่งทางใจของผู้คน
  • ราชวงศ์จิ๋นหรือฉิน
      • จักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่สามารถรวมดินแดนของจีนให้เป็นจักรวรรดิ เป็นครั้งแรกคือ พระเจ้าชิวั่งตี่ หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นผู้ให้สร้าง กำแพงเมืองจีน
      • มีการใช้เหรียญกษาปณ์ มาตราชั่ง ตวง วัด
  • ราชวงศ์ฮั่น
      • เป็นยุคทองด้านการค้าของจีน มีการค้าขายกับอาณาจักรโรมัน อาหรับ และอินเดีย โดยเส้นทางการค้าที่เรียกว่า เส้นทางสายไหม( Silk Rood )
      • ลัทธิขงจื๊อ คำสอนถูกนำมาใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ
      • มีการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการเรียกว่า จอหงวน
  • ราชวงศ์สุย
      • เป็นยุคแตกแยกแบ่งเป็นสามก๊ก
      • มีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซี เพื่อประโยชน์ในด้านการคมนาคม
  • ราชวงศ์ถัง
      • ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมจีน นครฉางอานเป็นศูนย์กลางของซีกโลกตะวันออกในสมัยนั้น
      • พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง พระภิกษุ (ถังซำจั๋ง) เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎก ในชมพูทวีป
      • เป็นยุคทองของกวีนิพนธ์จีน กวีคนสำคัญ เช่น หวางเหว่ย หลี่ไป๋ ตู้ฝู้
      • ศิลปะแขนงต่างๆมีความรุ่งเรือง
  • ราชวงศ์ซ้อง
      • มีความก้าวหน้าด้านการเดินเรือสำเภา
      • รู้จักการใช้เข็มทิศ
      • รู้จักการใช้ลูกคิด
      • ประดิษฐ์แท่นพิมพ์หนังสือ
      • รักษาโรคด้วยการฝังเข็ม
  • ราชวงศ์หยวน
      • เป็นราชวงศ์ชาวมองโกลที่เข้ามาปกครองจีน ฮ่องเต้องค์แรกคือ   กุบไลข่าน หรือ หงวนสีโจ๊วฮ่องเต้
      • ชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายมาก เช่น มาร์โคโปโล พ่อค้าชาวเมืองเวนีส อิตาลี
  • ราชวงศ์หมิงหรือเหม็ง
      • วรรณกรรม นิยมการเขียนนวนิยายที่ใช้ภาษาพูดมากกว่าการใช้ภาษาเขียน มีนวนิยายที่สำคัญ ได้แก่ สามก๊ก ไซอิ๋ว
      • ส่งเสริมการสำรวจเส้นทางเดินเรือทางทะเล
      • สร้างพระราชวังหลวงปักกิ่ง (วังต้องห้าม)
  • ราชวงศ์ชิงหรือเช็ง
      • เป็นราชวงศ์เผ่าแมนจู เป็นยุคที่จีนเสื่อมถอยความเจริญทุกด้าน
      • เริ่มถูกรุกรานจากชาติตะวันตก เช่น สงครามฝิ่น ซึ่งจีนรบแพ้อังกฤษ ทำให้ต้องลงนามในสนธิสัญญานานกิง
      • ปลายยุคราชวงศ์ชิง พระนางซูสีไทเฮาเข้ามามีอิทธิพลในการบริหารประเทศมาก
จีนยุคสาธารณรัฐและยุคคอมมิวนิสต์
  • ปลายยุคราชวงศ์ชิง ดร.ซุนยัตเซ็น จัดตั้งสมาคมสันนิบาต เพื่อล้มล้างราชวงศ์ชิง โดยประกาศ ลัทธิไตรราษฎร์ ประกอบด้วย 1.หลักเอกราช 2.หลักแห่งอำนาจอธิปไตยของประชาชน 3.หลักความยุติธรรมในการครองชีพ ส่วนนโยบายปฏิวัติ คือ โค่นล้มราชวงศ์แมนจู และจัดตั้งรัฐบาลประชาชน จัดตั้งรัฐบาลตามระบอบสาธารณรัฐ จัดสรรที่ดินให้แก่ประชาชน และก่อตั้งพรรคชาตินิยม หรือ พรรคก๊กมินตั๋ง ขึ้นในที่สุด
  • ต่อมา ซุนยัตเซ็นได้ร่วมมือกับ ยวน ซีไข ทำการปฏิวัติล้มราชวงศ์ชิงได้สำเร็จเปลี่ยนการปกครองเข้าสู่ระบอบสาธารณรัฐ (จักรพรรดิปูยี เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของจีน) มีการแย่งชิงอำนาจของผู้นำทางทหารเรียกว่า ยุคขุนศึก
  • ซุนยัตเซ็นได้เสนอให้ ยวน ซีไข เป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐจีน
  • ยวน ซีไข คิดสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิและรื้อฟื้นระบบศักดินา
  • ดร.ซุนยัตเซ็น ตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง
  • เมื่อ ยวน ซีไข เสียชีวิตลง ดร.ซุนยัตเซ็นเป็นประธานาธิบดี แต่เป็นได้ไม่นานก็เสียชีวิต
  • หลังจาก ดร. ซุนยัตเซ็น เสียชีวิต เจียงไคเช็ค ขึ้นเป็นผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งและผู้นำจีน
  • แต่รัฐบาลเจียงไคเช็ค ประสบปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง กดขี่ราษฎร
  • จีนเกิดการปฏิวัติอีกครั้ง โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ภายใต้การนำของ เหมา เจ๋อตุง รัฐบาลเจียงไคเช็ค ต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แต่แพ้
  • เหมา เจ๋อตุง สถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีนปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ มีการจัดระเบียบสังคมใหม่ เรียกว่า การปฏิวัติทางวัฒนธรรม เพื่อต่อต้านจารีตศักดินาแบ่งชนชั้น
  • หลังจาก เหมา เจ๋อตุง เสียชีวิต เติ้งเสี่ยวผิงขึ้นเป็นผู้นำจีนแทน ประกาศพัฒนาประเทศด้วย นโยบายสี่ทันสมัย คือด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การทหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนภายในประเทศ รวมทั้งผ่อนปรนวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนให้คลายความเข้มงวดลง

    อนุสาวรีย์วีรชนปฏิวัติของจีน


    ประธาน เหมา เจ๋อตุง

    ศิลปวัฒนธรรมของจีน

    ภาพวาดพระถังซำจั๋ง


    เส้นทางสายไหม


    พระราชวังต้องห้าม

    อุทยานภายในพระราชวังฤดูร้อน
    • จิตรกรรม
        • มีวิวัฒนาการมาจากการเขียนตัวอักษรจีนจารึกบนกระดูกเสี่ยงทายเพราะตัวอักษรจีนมีลักษณะเหมือนรูปภาพ
        • งานจิตรกรรมจีนรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีการเขียนภาพและแกะสลักบนแผ่นหิน ที่นิยมมากคือ การเขียนภาพบนผ้าไหม ภาพวาดเป็นเรื่องเล่าในตำราขงจื๊อพระพุทธศาสนาและภาพธรรมชาติ
        • สมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาการใช้พู่กันสีและกระดาษภาพส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาและลัทธิเต๋า
        • สมัยราชวงศ์ซ้อง จิตรกรรมจัดว่าเด่นมาก ภาพวาดมักเป็นภาพมนุษย์กับธรรมชาติ ทิวทัศน์ ดอกไม้

    • ประติมากรรม
        • ส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ทำจากดินสีแดง มีลวดลาย แดง ดำ และขาวเป็นลวดลายเรขาคณิต
        • สมัยราชวงศ์ชาง มีการแกะสลักงาช้าง หินอ่อน และหยกตามความเชื่อและความนิยมของชาวจีน ที่เชื่อว่า หยก ทำให้เกิดความเป็นสิริมงคล ความสุขสงบ ความรอบรู้ ความกล้าหาญ ภาชนะสำริดเป็นหม้อสามขา
        • สมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาเครื่องเคลือบดินเผาเป็นเคลือบ 3 สีคือ เหลือง น้ำเงิน เขียว ส่วนสีเขียวไข่กามีชื่อเสียงมากในสมัยราชวงศ์ซ้อง ส่วนพระพุทธรูปนิยมสร้างในสมัยราชวงศ์ถัง ทั้งงานหล่อสำริดและแกะสลักจากหิน ซึ่งมีสัดส่วนงดงาม เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะอินเดียและจีนที่มีลักษณะเป็นมนุษย์มากกว่าเทพเจ้า นอกจากนี้มีการปั้นรูปพระโพธิสัตว์กวนอิม
        • สมัยราชวงศ์เหม็ง เครื่องเคลือบได้พัฒนาจนกลายเป็นสินค้าออก คือ เครื่องลายครามและลายสีแดง ถึงราชวงศ์ชิง เครื่องเคลือบจะนิยมสีสันสดใส เช่น เขียว แดง ชมพู
    • สถาปัตยกรรม
        • กำแพงเมืองจีน สร้างในสมัยราชวงศ์จิ๋น เพื่อป้องกันการรุกรานของมองโกล
        • เมืองปักกิ่ง สร้างในสมัยราชวงศ์หงวน โดยกุบไลข่าน ซึ่งได้รับการยกย่องทางด้านการวางผังเมือง ส่วนพระราชวังปักกิ่งสร้างในสมัยราชวงศ์เหม็ง
        • พระราชวังฤดูร้อน สร้างในสมัยราชวงศ์เช็ง โดยพระนางซูสีไทเฮา ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างยุโรปและจีนโบราณ
    • วรรณกรรม
        • สามก๊ก สันนิษฐานว่าเขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นเรื่องราวของความแตกแยกในจีนตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศจิ๋นจนถึงราชวงศ์ฮั่น
        • ซ้องกั๋ง เป็นเรื่องประท้วงสังคม เรื่องราวความทุกข์ของผู้คนในมือชนชั้นผู้ปกครอง สะท้อนความทุกข์ของชาวจีนภายใต้การปกครองของพวกมองโกล
        • ไซอิ๋ว เป็นเรื่องราวการเดินทางไปนำพระสูตรจากสวรรค์ทางตะวันตกมายังประเทศจีน
        • จินผิงเหมย หรือดอกบัวทอง แต่งขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 เป็นนิยายเกี่ยวกับสังคมและชีวิตครอบครัว เป็นเรื่องของชีวิตที่ร่ำรวย มีอำนาจขึ้นมาด้วยเล่ห์เหลี่ยม แต่ด้วยการทำชั่วและผิดศีลธรรมในที่สุดต้องด้รับกรรม
    หงโหลวเมิ่ง หรือ ความฝันในหอแดง เด่นที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เรื่องราวเต็มไปด้วยการแก่งแย่งชิงดี อิจฉาริษยากัน ผู้อ่านจะรู้สึกเศร้าสลดต่อชะตาชีวิตของพระเอกนางเอกเนื้อเรื่องสะท้อนให้เห็นสังคมศักดินาของจีนที่กำลังเสื่อมโทรมก่อนการเปลี่ยนแปลงสังคมเข้าสู่ยุคใหม่ บันทึกประวัติศาสตร์ ของ สื่อหม่าเฉียน

    การถ่ายทอดอารยธรรมจีนสู่ดินแดนต่างๆ
                  อารยธรรมจีนแผ่ขยายขอบข่ายออกไปอย่างกว้างขวางทั้งในเอเชียและยุโรป อันเป็นผลมาจากการติดต่อทางการทูต การค้า การศึกษา ตลอดจนการเผยแผ่ศาสนา อย่างไรก็ตามลักษณะการถ่ายทอดแตกต่างกันออกไป ดินแดนที่เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีนเป็นเวลานาน เช่น เกาหลี และเวียดนาม จะได้รับอารยธรรมจีนอย่างสมบูรณ์ ทั้งในด้านวัฒนธรรม การเมือง ขนบธรรมเนียมประเพณี การสร้างสรรค์ และการแสดงออกทางศิลปะ ทั้งนี้เพราะราชสำนักจีนจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและบังคับให้ประเทศทั้งสองรับวัฒนธรรมจีนโดยตรง
                  ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อารยธรรมจีนได้รับการยอมรับในขอบเขตจำกัดมาก ที่เห็นอย่างชัดเจนคือ การยอมรับระบบบรรณาการของจีน
                  ในเอเชียใต้ ประเทศที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีนอย่างใกล้ชิด คือ อินเดีย พระพุทธศาสนามหายานของอินเดียแพร่หลายเข้ามาในจีนจนกระทั่งเป็นศาสนาสำคัญที่ชาวจีนนับถือ นอกจากนี้ศิลปะอินเดียยังมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะบางอย่างของจีน เช่น ประติมากรรมที่เป็นพระพุทธรูป
                  ส่วนภูมิภาคเอเชียกลางและตะวันออกกลางนั้น เนื่องจากบริเวณที่เส้นทางการค้าสานแพรไหมผ่านจึงทำหน้าที่เป็นสื่อกลางนำอารยธรรมตะวันตกและจีนมาพบกัน อารยธรรมจีนที่เผยแพร่ไป เช่น การแพทย์ การเลี้ยงไหม กระดาษ การพิมพ์ และดินปืน เป็นต้น ซึ่งชาวอาหรับจะนำไปเผยแพร่แก่ชาวยุโรปอีกต่อหนึ่ง


    อารยธรรมจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอีกชื่อหนึ่งว่า อินโดจีนหมายถึงภูมิประเทศที่ได้รับอารยธรรมอินเดียและอารยธรรมจีน อันเนื่องมาจากที่ตั้งอยู่ตรงการระหว่างสองประเทศนั่นเอง และจากประวัติศาสตร์ที่มีมาอย่างยาวนาน ทั้งประเทศอินเดียและประเทศจีนก็มีการติดต่อค้าขายมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางเรือ ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงกลายเป็นทางผ่านที่สำคัญ เป็นที่พักสินค้า เติมน้ำจืด และที่หลบลมมรสุม การค้าขายนี่เองทำให้เกิดการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมทั้งจีนและอินเดียในภูมิภาคนี้ แต่เพราะเหตุใดเราจึงมองเห็นว่าอารยธรรมจีนจึงเข้มข้นน้อยกว่าอารยธรรมอินเดีย วันนี้ผู้เขียนขออธิบายอารยธรรมจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    อิทธิพลทางด้านการเมือง โบราณนานมากแล้วกษัตริย์จีนทุกพระองค์ถือว่าทรงเป็นสมมุติเทพมีฐานะเหนือผู้ปกครองของประเทศต่าง ๆ ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ปกครองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะต้องส่งเครื่องบรรณาการไปให้กับกษัตริย์จีนอย่างน้อยปีละ ๓ ครั้ง เพื่อประโยชน์ทางการค้า เรียกว่า จิ้มก้องหากมีการผลัดเปลี่ยนกษัตริย์ จะต้องมีการแจ้งเรื่องให้กับกษัตริย์จีนทรงทราบ เพื่อให้จีนรับรอง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อเสถียรภาพในการปกครองของผู้นำรัฐต่าง ๆ การจิ้มก้องนี้เป็นคุณประโยชน์กับประเทศต่าง ๆ เป็นอย่างมาก เพราะการได้สิทธิค้าขายกับจีนนั้นถือว่าเป็นความมั่นคงของรัฐต่าง ๆ อย่างแท้จริง และรัฐต่าง ๆ จะไม่ต้องถูกจีนโจมตี ยกตัวอย่างเช่นพม่า ช่วงพระเจ้ามังระที่ขณะนั้นตีกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ ๒ พม่าไม่ได้ส่งบรรณาการให้กับจีนหลายงวด จีนทวงถามหลายครั้งก็ไม่ได้รับคำตอบ จีนจึงยกกำลังมาตีพม่า พม่ายกกำลังทหารส่วนใหญ่ไปรับศึกจีน เหลือกำลังน้อยนิดไว้ในไทย นี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พม่าไม่สามารถปกครองไทยได้นาน และพระเจ้าตากสินจึงกู้เอกราชได้อย่างรวดเร็วเพียงหกเดือนเศษ สำหรับประวัติศาสตร์ไทยมีหลักฐานการส่งบรรณการกับจีนมานานแล้ว อย่างน้อยที่สุดก็ตั้งแต่สมัยสุโขทัย ไทยหยุดส่งเครื่องบรรณาการให้จีนสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นี่เอง ส่วนในระดับภูมิภาคมีหลักฐานจากเอกสารจีนว่า รัฐฟูนัน (พศว. ๘ ๑๒) มีการส่งเครื่องบรรณาการให้จีนแล้ว
    ประเทศเวียดนามนับว่าได้รับอารยธรรมจีนมากที่สุด เพราะมีความใกล้ชิดกับจีน เมื่อจีนเข้าปกครองเวียดนามก็ใช้วิธีการปกครองแบบกลืนชาติ เวียดนามจึงมีระเบียบการปกครองแบบจีน มีการสอบเข้ารับราชการแบบจีนโดยใช้ตำราของขงจื้อ เรียกว่าสอบจองหงวน มีการใช้อักษรจีน นับถือเทพเจ้าแบบจีน นับถือขงจื้อ งานศิลปกรรม สถาปัตยกรรม แม้แต่เครื่องแต่งกาย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ พระราชวังหลวงเว้ ที่มีความเป็นจีนสูงมาก จนเมื่อฝรั่งเศสเข้าปกครองจีน ความรู้และอารยธรรมแบบตะวันตกจึงค่อย ๆ เข้ามาในประเทศเวียดนาม
    อิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจ ในฐานะที่จีนเป็นตลาดการค้าใหญ่ มีสินค้าต่าง ๆ ที่รัฐต่าง ๆ ในเอชัยตะวันออกเฉียงใต้ต้องการ เช่นเครื่องปั้นดินเผา ผ้าไหม จีนจึงบังคับให้รัฐต่าง ๆ ส่งเครื่องบรรณาการให้กับจีนก่อน แล้วจีนจึงค้าขายด้วย แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการแลกเปลี่ยน อาจารย์ผู้สอนประวัติศาสตร์จีนให้สอนผู้เขียนว่า จีนถือตนว่าเป็นผู้ใหญ่ เมื่อผู้น้อยเอาของมาให้ ผู้ใหญ่ต้องมีของแลกเป็นการตอบแทน แต่เมื่อเป็นผู้ใหญ่ก็ต้องให้มากกว่าผู้น้อย ดังนั้นจึงเป็นที่ชื่นชอบแก่รัฐต่าง ๆ เป็นอันมาก อาณาจักรที่รุ่งเรืองกับการค้าขายกับจีน เช่น อาณาจักรฟูนัน ศรีวิชัย อันนัม สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ ฯลฯ

    สาเหตุที่จีนมีอิทธิพลกับทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้น้อย
                   เพราะจีนไม่ค่อยออกจากประเทศทำการค้าขายมากนักเนื่องจากความเชื่อเรื่องชาติพรรณ และเชื่อว่าตนเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ประเทศต่าง ๆ ต้องเข้าไปหาจีนเอง ยกเว้นช่วงราชวงศ์หมิงเท่านั้นที่การค้าทางทะเลของจีนรุ่งเรื่อง ดังนั้นการแพร่ออกของวัฒนธรรมจีนจึงมีนอ้อยกว่าอารยธรรมอินเดีย ซึ่งอินเดียเป็นเจ้าแห่งการเดินเรือค้าขาย
                   จีนไม่สนใจขายอิทธิพลทางทะเล หรือขยายดินแดน ยกเว้นช่วงราชวงศ์หยวน เพราะศึกล้อมรอบประเทศจากกลุ่มชนต่าง ๆ โดยเฉพาะทางภาคเหนือก็ทำให้จีนต้องพะวงอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งจีนเชื่อประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เป็นเพราะป้องกันให้กับจีนดีพออยู่แล้ว อิทธิพลจีนจึงแพร่ไปสู้ประเทศในภูมิภาคเอเชียน้อย
                   ลัทธิความเชื่อของชาวจีน เช่นลัทธิขงจื้อ ไม่สนับสนุนให้ชาวจีนไม่ส่งเสริมให้จีนออกนอกประเทศ
    แต่ปัจจุบัน ชาวจีนได้แพร่กระจายออกไปทั่วโลก แทบจะทุกประเทศก็มีชุมชนจีน วัฒนธรรมจีนจึงติดตัวไปกับชาวจีนที่ย้ายถิ่นฐานต่าง ๆ ไปสู่ประเทศเหล่านั้น จากชมกลุ่มน้อยก็แทบจะกลายเป็นชนกลุ่มใหญ่ เช่นในประเทศไทย สิงค์โปร และด้วยความที่มีประชากรเยอะที่สุดในโลก ราว ๑,๓๐๐ ล้านคน การค้าของจีนทั้งซื้อและขายทั่วโลกจึงให้ความสนใจ ผู้คนต่างเริ่มศึกษาวัฒนธรรมจีนและเลือกรับวัฒนธรรมจีนไปเรื่อย ๆ และเรื่อย ๆ

    สังคมและวัฒนธรรมจีน

    ·       ลัทธิขงจื้อ
    ลัทธิขงจื๊อ (551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.)

    เป็นผู้วางรากฐานในกับลัทธิขงจื๊อที่มุ่งแก้ไขปัญหาการเมืองและสังคมของจีน ในสมัยจลาจล โดยเน้นให้มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความสงบสุขเรียบร้อย ทั้งนี้จะถือหลักการเรื่องมนุษยธรรมและจารีตประเพณี ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักแห่งสัมพันธภาพ 5 ประการ ขงจื๊อสั่งสอนลูกศิษย์โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ลูกศิษย์ของขงจื๊อจึงมีตั้งแต่เจ้านาย ขุนนาง ข้าราชการ พ่อค้า ชาวไร่ชาวนา ทำให้เกิดชนชั้นปัญญาชนขึ้นในสังคมชีน ปัญญาชนเหล่านี้มีเป้าหมายอยู่ที่การเข้ารับราชการ โดยหวังว่าปัญญาความรู้ความสามารถที่ได้รับการอบรมมาจะเป็นประโยชน์ต่อการ ปกครองบ้านเมือง และยังเป็นการสร้างชื่อเสียงและฐานะให้กับตนเอง ครอบครัว วงศ์ตระกูลอีกด้วย ปัจจุบันลัทธิขงจื๊อแม้จะหมดบทบาทในด้านการเมือง แต่ในด้านวัฒนธรรม ลัทธิขงจื๊อยังฝังลึกอยู่ในสังคมจีนนานนับเป็นศตวรรษจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของ วิถีชีวิตในสังคมจีน

    ขงจื๊อสั่งสอนลูกศิษย์โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ลูกศิษย์ของขงจื๊อจึงมีทุกชนชั้น ทำให้เกิดชนชั้นปัญญาชนขึ้นในสังคมจีน  ปัญญาชนเหล่านี้มีเป้าหมายอยู่ที่การเข้ารับราชการ โดยหวังว่าปัญญาความรู้ความสามารถที่ได้รับการอบรมมาจะเป็นประโยชน์ต่อการ ปกครองบ้านเมือง และยังเป็นการสร้างชื่อเสียงและฐานะให้กับตนเอง ครอบครัว วงศ์ตระกูลอีกด้วย ลัทธิขงจื๊อ เรียกกันในอีกชื่อหนึ่งว่า แนวคิดหยู ซึ่งหมายถึงแนวคิดของปัญญาชน ผู้ที่ศึกษาแนวคิดของขงจื๊อและนักคิดคนอื่นๆ ในกลุ่มนี้เรียกกันในสมัยโบราณว่า ปัญญาชนหยู หรือชาวหยู ปัจจุบันลัทธิขงจื๊อแม้จะหมดบทบาทในด้านการเมือง แต่ในด้านวัฒนธรรม ลัทธิขงจื๊อยังฝังลึกอยู่ในสังคมจีนนานนับเป็นศตวรรษจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวจีน

    ·       ลัทธิเต๋า
    ลัทธิเต๋า(ประมาณ 571 - 484 ปีก่อน ค.ศ.) นักปราชญ์คนสำคัญของลัทธิเต๋ามีชีวิตอยู่ในสมัยเดียวกับขงจื๊อ

     ลัทธิเต๋ามีกำเนิดในประเทศจีน ต้นกำเนิดเดิมของลัทธิเต๋าไม่ใช่ลัทธิหรือศาสนา แต่เป็นปรัชญาธรรม เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า โดยอยู่อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ ตัดสิ่งที่เกิน ความจำเป็นของชีวิต รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีที่ฟุ่มเฟือยและฝืนกับธรรมชาติ โดยกลับไป มีชีวิตแบบง่าย ๆ ท่ามกลางความสงบของป่าเขาลำเนาไพร แต่เมื่อเวลาผ่านพ้นไปปรัชญาเต๋าได้ถูก ดัดแปลงให้สอดคล้องกับความเชื่อดั้งเดิมของจีนซึ่งบูชาพระเจ้าประจำธรรมชาติ ผสมกับความเชื่อ ในทางไสยศาสตร์อื่น ๆ จึงเกิดเป็นลัทธิเต๋า ซึ่งจะกล่าวรายละเอียดในตอนต่อไปปรัชญาเต๋าเป็นระบบความคิดที่โดดเด่นต่างจากปรัชญาอื่น ๆ ของจีน กล่าวคือ มีแนวคิดที่นอกจากจะเน้นหนักในทางจริยศาสตร์แล้ว ยังมีแนวคิดทางด้านปรัชญาการเมืองและทัศนะในทางอภิปรัชญาค้นหาอันติมสัจจ์ที่เป็นรากฐานแห่งสรรพสิ่ง ตรงจุดนี้เองที่ทำให้ปรัชญาเต๋ายังคงยืนหยัดท่ามกลางกระแสปรัชญาอื่น ๆ ของโลกในปัจจุบันแม้นวันเวลาจะผ่านพ้นไปนานก็ตาม ปรัชญาเต๋า ยังคงเป็นสิ่งที่น่าศึกษาค้นคว้าสำหรับผู้รักการแสวงหาความจริง

                   ล่าจื้อ ไม่ชอบชีวิตหรูหรา แต่ทุกคนดูเหมือนจะมุ่งมั่นเพื่อเงินชื่อเสียงและอำนาจ ในขณะเดียวกันทั้งเมืองก็เต็มไปด้วยการโกงกินกันอย่างมโหฬาร ด้วยเหตุนี้ วันหนึ่งท่านจึงขับเกวียนเทียมวัวดำสองตัวมุ่งไปยังภูเขาด้านทิศตะวันตก (ทิเบต?) พอถึงประตูเมืองนายประตูจำได้ จึงขอร้องให้ท่านหยุดพักเพื่อเขียนปรัชญาแห่งชีวิต ท่านจึงได้เขียนตำราที่โด่งดังของท่านเป็นอักษรจีน 5,500 ตัว จากนั้นก็ได้เดินทางต่อไป ปรากฏว่าพอถึงช่องแดนระหว่างภูเขา ท่านก็หายเข้าไปในก้อนเมฆ อะไรได้เกิดขึ้นก็ตามทีเถิด ตั้งแต่นั้นมาไม่มีใครเห็นท่านอีกเลย

    ·       พระพุทธศาสนาในจีน

                    ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมจีน บันทึกการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนจีนว่า เริ่มขึ้นในสมัยกษัตริย์เม่งตี่แห่งราชวงศ์ฮั่น ซึ่งเป็นเวลาที่จีนแผ่อำนาจไปทางตะวันตกและพระพุทธศาสนาแพร่ขึ้นมาทางเหนือ ของชมพูทวีป พระจักรพรรดิจีนรับสั่งให้นิมนต์พระภิกษุจากแคว้นกุสัน พร้อมด้วยพระสูตรมายังประเทศจีน และโปรดให้สร้างวัดม้าขาว เป็นวัดพุทธแห่งแรก ในพุทธศักราช 610

    ต่อมาได้มีพระภิกษุ พระเถระเดินทางมาจากอินเดียกลาง เป็นจำนวนมาก พระเถระเหล่านั้น ได้แปลพระสูตรเป็นภาษาจีน และชาวจีนได้รับอนุญาตให้อุปสมบทได้ ในพุทธศักราช 800 เป็นครั้งแรก
    หลังจากนั้นพระภิกษุจีน ที่มีความศรัทธาพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ได้ออกเดินทางไปศึกษาพระธรรมที่อินเดีย ที่ได้รับยกย่องในความเพียร ที่รู้จักกันดี ได้แก่หลวงจีนฟาเหียน เดินทางไปทางบกกลับทางเรือ พระภิกษุเฮียนจัง ที่รู้จักกันในนามพระถังซัมจั๋ง เดินทางไปกลับทางบก และ
    พระงี่เจ๋งเดินทางไปทางเรือกลับทางเรือ ทั้งสามท่านได้บันทึกการเดินทางไว้น่าสนใจมาก


5 ความคิดเห็น: